ชื่อย่อ : PR9
ราคาล่าสุด 19.50
เปลี่ยนแปลง (%) - (-%)
1

นโยบาย แนวปฏิบัติและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์สังคมสูงอายุที่กำลังขยายวงกว้างขึ้นในระดับโลก ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ต่างก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ เช่นกัน ทั้งสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนวัยของจำนวนประชากรนี้้ถือเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมบางประเภท อาทิ เช่น การจัดการที่อยู่อาศัยและสถานที่พักพิงสำหรับผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมเครื่องมือที่ใช้ทางการแพทย์ ธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และธุรกิจความงามชะลอวัย (Anti-aging) กล่าวคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของธุรกิจโรงพยาบาล อาจมีโอกาสสร้างผลกระทบต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมในประเด็นสิ่งแวดล้อม อาทิ เช่น มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ การจัดการขยะและขยะอันตราย การใช้พลังงาน และการใช้น้ำ เป็นต้น การบริหารจัดการประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

บริษัทให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยมีเป้าหมายตามมิติสิ่งแวดล้อม สร้างสิ่งแวดล้อมสมดุล ถือเป็นภาระกิจหลักขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ และกำหนดตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ระยะสั้น ระยะยาวในการบริหารจัดการประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสร้างสมดุลทางธุรกิจควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เป้าหมายที่ 3, 6, 7, 8, 9, 12 และ 13

เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนมิติสิ่งแวดล้อม

ประเด็นมิติ สิ่งแวดลัอม เป้าหมายระยะสั้น ภายใน 1-2 ปี เป้าหมายระยะยาว ภายใน 3-6 ปี
การจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า
  • ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อวันนอนผู้ป่วยรวมมากกว่า ร้อยละ 5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565
การประหยัดพลังงาน
  • ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า
  • ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 2 ภายในปี 2571 เทียบกับ ปีฐาน 2565
การบริหารจัดการและการประหยัดน้ำ
  • ลดปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า
  • ลดปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 2 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565
การจัดการของเสีย
  • ลดปริมาณขยะต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า
  • ลดปริมาณขยะต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565
2

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของบริษัทควบคู่กับการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้ระบุสาระสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทในประเด็นสำคัญที่ผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจให้ความสำคัญ ประกอบด้วย การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประหยัดพลังงาน การบริหารจัดการและการประหยัดน้ำ และการจัดการของเสีย โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวปฏิบัติงานตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กลยุทธ์ 3Rs มาเป็นแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรภายใต้การปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงาน การใช้น้ำและการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 1, 2 และ 3 อย่างยั่งยืนในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 4 ประเด็น ดังนี้

นโยบายสิ่งแวดล้อม
ดาวน์โหลด

การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายในการบริหารจัดการสุขภาพของคนในสังคมทั้งทางตรงจากสภาพอากาศที่รุนแรง อาทิ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม และเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Events) ซึ่งอาจทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก และทางอ้อม อาทิ เช่น ความเครียดจากความร้อน การขาดสารอาหาร โรคระบาด การย้ายถิ่นของชุมชน และปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น บริษัทขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะร่วมมือรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามรักษาไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งสอดคล้องคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG เป้าหมายที่ 13

กำหนดนโยบาย เป้าหมาย ประเมินความเสี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อธุรกิจ และติดตามอย่างต่อเนื่อง

บริษัทได้พิจารณา ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบ (Impact) ที่อาจก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บ หรือผลกระทบทางสุขภาพอื่นทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน การสูญเสียของการดำรงชีวิตและบริการ และการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคม หรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้นลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า และเป้าหมายระยะยาวลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อวันนอนผู้ป่วยรวม ร้อยละ 5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565 นำไปสู่การวางแผนดำเนินงานและการควบคุมและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจในการลดความเสี่ยงทางกายภาพ นโยบายและข้อบังคับ เทคโนโลยี การตลาด และชื่อเสียง ดังนี้

  ความเสี่ยง แผนการจัดการและลดความเสี่ยง
ความเสี่ยงทางกายภาพ
(Physical Risk)
ความเสี่ยงจากผลกระทบทางกายภาพ ทั้งแบบเฉียบพลันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น มีแผนสำรองกรณีฉุกเฉิน เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยง กรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
นโยบายและข้อบังคับ
(Policy and Legal)
ความเสี่ยงจากนโยบายกฎหมายและข้อบังคับในปัจจุบันและที่เกิดขึ้นใหม่ที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจรวมถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ติดตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อปรับนโยบายที่เกี่ยวข้องของบริษัทให้เหมาะสม
เทคโนโลยี
(Technology)
ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีที่มีผลต่อการรักษาพยาบาลในการปรับตัวที่อาจกระทบกับธุรกิจ พิจารณาทางเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้ต่อเนื่องได้ในอนาคตเป็นหลัก รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
การตลาด
(Market)
ความเสี่ยงจากการตลาดที่มีผลจากการแข่งขันและช่องทางการตลาด ถ้ามีเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้รับบริการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและช่องทางการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้รับบริการและอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจ
ชื่อเสียง
(Reputation)
ความเสี่ยงจากความคาดหวังที่สูงขึ้นของผู้มาใช้บริการ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มาใช้บริการทราบในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในทุกๆ ด้านของสื่อประชาสัมพันธ์

การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลการบริหารจัดการปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณอย่างมีนัยสำคัญจากการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 4 อาคารประกอบด้วย อาคาร A อาคาร O อาคาร B และอาคาร D จากเดิมปีฐาน 2562 คำนวณเฉพาะ อาคาร A โดยโรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบเดิมตามวิธี Absolute approach หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องลดในรูปแบบร้อยละของปริมาณการปล่อยทั้งหมด (Absolute Emissions) 2) Economic Intensity approach หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องลดต่อหน่วยการให้บริการ พบว่าในปี 2565 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลงร้อยละ 10.45 จากปีฐาน 2562 และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อวันนอนผู้ป่วยรวมร้อยละ 26.92 เทียบกับปี 2564 ตามวิธี Absolute approachและ Economic Intensity approach ตามลำดับ

บริษัทได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีฐานในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเปิดเผยข้อมูลในปีถัดไป โดยการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นปีแรก ซึ่งโรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามวิธี Absolute approach ในการมุ่งมั่นลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565

บริษัทได้เริ่มกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures: TCFD) ในการนำมาซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงและโอกาสดังกล่าวมาใช้ในการกำกับดูแลวางกลยุทธ์และจัดทำาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปี 2565 การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope I เท่ากับ 399 ton CO2e Scope II เท่ากับ 5,948 ton CO2e และ Scope III เท่ากับ 5,172 ton CO2e

แนวทางพัฒนาและจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

1
นำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
2
พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการลด Scope II
3
สร้างการมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลยุทธ์ 3Rs ให้ผู้มีส่วนได้เสีย Scope III

การบริหารจัดการพลังงาน

การใช้พลังงานฟอสซิลมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้สร้างปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ โรงพยาบาลมีแนวโน้มของความต้องการใช้พลังงานตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและ ปัจจัยดังกล่าว อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงานและคุณภาพชีวิตของคนในสังคมลดลง แนวทางบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนและพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจเป็นเครื่องมือในการลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 7 และ SDG 13

กำหนดนโยบาย เป้าหมาย อนุรักษ์พลังงาน และติดตามอย่างต่อเนื่อง

บริษัทกำหนดนโยบายการจัดการพลังงานเป็นกรอบสร้างการมีส่วนร่วมดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงานและประยุกต์ระบบการจัดการตามมาตรฐาน ISO 14001 รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า และสำหรับเป้าหมายระยะยาว ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 ภายในปี 2571 เทียบกับ ปีฐาน 2565 ในปีที่ผ่านมาได้ทำการประเมินสัดส่วนการใช้พลังงาน สถานภาพการจัดการพลังงาน วิเคราะห์ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน กำหนดมาตรการ ติดตามและประเมินผลการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงนำเสนอต่อคณะผู้บริหารอย่างต่อเนื่องในการลดความเสี่ยงและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน

โครงการเปลี่ยนโคมไฟและติดตั้งโคมไฟลานจอดรถโซล่าเซลล์

โรงพยาบาลได้ ดำเนินการปลี่ยนโคมไฟโถงสาธารณะ บริเวณ โถงสาธารณะ ชั้น 11 อาคาร B จากหลอดไฟ LED 80 วัตต์ เป็นหลอดไฟ ฮาโลเจน LED 9วัตต์ และ ดำเนินการติดตั้งโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด

โครงการเปลี่ยนหลอดไฟ
ดาวน์โหลด
โครงการใช้โซล่าเซลล์
ดาวน์โหลด

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการพลังงาน

การประหยัดพลังงาน

ผลการบริหารจัดการพลังงานตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณอย่างมีนัยสำคัญจากการคำนวณปริมาณการใช้พลังงานจำนวน 4 อาคารประกอบด้วย อาคาร A อาคาร O อาคาร B และอาคาร D จากเดิมปีฐาน 2562 คำนวณเฉพาะ อาคาร A โดยโรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการใช้พลังงานแบบเดิม ตามวิธี Absolute approach หมายถึง ปริมาณพลังงานที่ต้องลดในรูปแบบร้อยละของปริมาณการลดพลังงานทั้งหมด พบว่าในปี 2565 ปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด 13,145,507 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 49.39 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 ตามวิธี Absolute approach ในปี 2565 โรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการใช้พลังงานแบบใหม่ตามวิธี Economic Intensity approach หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องลดต่อหน่วยการให้บริการ พบว่า ปริมาณการใช้พลังงานต่อวันนอนผู้ป่วยรวม 108.26 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 ตามวิธี Economic Intensity approach

บริษัทส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องถือปฏิบัติให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมผ่านกลยุทธ์ 3Rs คือ Reduce Reuse และ Recycle โดยกำหนดแผนการดำเนินงานและมาตรการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด

แนวทางพัฒนาและจัดการพลังงาน

1
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่หลากหลาย
2
ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
3
ควบคุมการเดินเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
4
ลด Peak Load ในการเปิดปั๊มน้ำดี
5
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการให้บริการทางแพทย์
6
พัฒนาบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียในการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ

การบริหารจัดการน้ำ

ทรัพยากรน้ำเป็นความเสี่ยงระดับโลกอันดับต้นๆ ทั้งปัญหาความเครียดจากน้ำ (Water stress) ความแห้งแล้ง อุทกภัย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นก่อให้เกิดความกังวลทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาในประเด็นการนำน้ำมาใช้ทั้งการอุปโภคและบริโภค รวมถึงคุณภาพน้ำในโลกที่ลดลงเรื่อยๆ ได้ส่งผลถึงสุขภาพของผู้คนและระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อม บริษัทตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำในกระบวนการของธุรกิจโดยได้ดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคและคุณภาพน้ำเสียตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 3 SDG 6 และ SDG 13

กำหนดนโยบาย เป้าหมาย อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และติดตามอย่างต่อเนื่อง

บริษัทได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายระยะสั้น ลดปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า และสำหรับเป้าหมายระยะยาว ลดปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565 นำไปสู่การกำหนดมาตรการ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงนำเสนอต่อคณะผู้บริหารอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน

โครงการติดตั้งก๊อกน้ำ SENSOR ตามกลยุทธ์ 3Rs

โรงพยาบาลติดตั้งก๊อกน้ำระบบ Sensor เพิ่มเติมต่อเนื่องจากปีที่แล้วบริเวณห้องพักพนักงาน ชั้น 3 สามารถประหยัดน้ำได้ตามที่คำนวณไว้ไม่น้อยกว่า 80% สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 24,300 บาท/ปี (ราคาค่าน้ำประปาที่ 20 บาท/หน่วย) และเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ค่าประปาโดยภาพรวมของโรงพยาบาลลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562

โครงการนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ ตามกลยุทธ์ 3Rs

โรงพยาบาลนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ เพื่อรดน้ำต้นไม้ โดยสามารถลดการสูญเสียน้ำ Recycle ได้ วันละเฉลี่ย 3,150 ลิตร/วัน สามารถ ประหยัดน้ำได้ 1,134,000 ลิตร/ปี สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 22,680 บาท/ปี (ราคาค่าน้ำประปาที่ 20 บาท/หน่วย)
โครงการ Reduce น้ำ
Download
โครงการ Recycle น้ำ
Download

ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและการประหยัดน้ำ

การบริหารจัดการและการประหยัดน้ำ

ผลการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณอย่างมีนัยสำคัญ จากการคำนวณปริมาณการใช้น้ำจำนวน 4 อาคารประกอบด้วย อาคาร A อาคาร O อาคาร B และอาคาร D จากเดิมปีฐาน 2562 คำนวณเฉพาะ อาคาร A และปี 2563 คำนวณเฉพาะ อาคาร A และ อาคาร O โดยโรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำแบบเดิมตามวิธี Absolute approach หมายถึง ปริมาณน้ำที่ต้องลดในรูปแบบร้อยละของปริมาณการน้ำทั้งหมด พบว่าในปี 2565 ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด 150,870 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 10.27 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 ตามวิธี Absolute approach ในปี 2565 โรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวมแบบใหม่ตามวิธี Economic Intensity approach หมายถึง ปริมาณน้ำที่ต้องลดต่อหน่วยการให้บริการ พบว่า ปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวมเป็น 1.25 ต่อวันนอนผู้ป่วยรวม ซึ่งมีการใช้น้ำลดลงคิดเป็นร้อยละ 21.72 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562 ตามวิธี Economic Intensity approach

บริษัทส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำโดยใช้ เทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานทุกระดับในการอนุรักษ์น้ำในโรงพยาบาลร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านกลยุทธ์ 3Rs ประกอบด้วย ลดปริมาณการใช้น้ำ (Reduce) และใช้ซ้ำ (Reuse) อย่างต่อเนื่อง

แนวทางพัฒนาและจัดการน้ำ

1.

ใช้น้ำอย่างรับผิดชอบรวมถึงการตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่โดยมุ่งเน้นไปที่การลดความเข้มของปริมาณการใช้น้ำต่อวันนอนผู้ป่วยรวม

2.

ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

3.

ติดตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่มีต่อบริษัท

การบริหารจัดการของเสีย

การบริหารจัดการของเสียอันตราย (Hazardous Waste) และของเสียไม่อันตราย (Non-Hazardous Waste) เป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายในการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค กลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสมดุลของระบบนิเวศจากการนำไปฝังกลบทำให้เกิดมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน นำไปสู่การบริหารจัดการของเสียตลอดห่วงโซ่ของธุรกิจ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 12 และ SDG 13

กำหนดนโยบาย เป้าหมาย มาตรการลดของเสีย และติดตามอย่างต่อเนื่อง

บริษัทได้ดำเนินการบริหารจัดการของเสียและประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ นำไปสู่การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ลดปริมาณขยะต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อนหน้า และเป้าหมายระยะยาว ลดปริมาณขยะต่อวันนอนผู้ป่วยรวม มากกว่าร้อยละ 5 ภายในปี 2571 เทียบกับปีฐาน 2565 โดยโรงพยาบาลส่งสริมแนวคิดการบริหารจัดการของเสียด้วยการคัดแยกของเสียตั้งแต่ต้นทางและลดการใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดของเสีย สนับสนุนการใช้ซ้ำลดการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ลดการใช้โฟมหรือพลาสติก โดยใช้กล่องข้าว ขวดน้ำหรือแก้วน้ำส่วนตัว พกถุงผ้าหรือกระเป๋าสำหรับใส่ของ และการใช้กระดาษสองหน้า นำไปสู่ลดการฝังกลบขยะมูลฝอยของเสียอันตรายและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างยั่งยืน

โครงการ Care the Bear

บริษัทเข้าร่วมโครงการ Care the Bear กับตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้หลัก 6 Cares ได้แก่ 1. รณรงค์ให้เดินทางโดยรถสาธารณะหรือเดินทางมาร่วมกัน 2. ลดการใช้กระดาษ พลาสติก จากเอกสารต่าง ๆ และบรรจุภัณฑ์ 3. งดการใช้โฟมจากบรรจุภัณฑ์หรือโฟมเพื่อการตกแต่ง 4. ลดการใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 5.ออกแบบโดยใช้วัสดุตกแต่งที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้ 6 .ลดขยะจากอาหารเหลือทิ้งในงานอีเว้นท์ ทำให้เกิดการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม (Engagement) ของสมาชิกในองค์กร สร้างจิตสำนึก เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดการของเสียของบริษัท

ผลการดำเนินงานด้านการจัดการของเสีย

การจัดการของเสีย

ผลการบริหารจัดการของเสีย ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณอย่างมีนัยสำคัญจากการคำนวณปริมาณการใช้น้ำจำนวน 4 อาคารประกอบด้วย อาคาร A อาคาร O อาคาร B และอาคาร D จากเดิมปีฐาน 2562 คำนวณเฉพาะ อาคาร A และปีฐาน 2563 คำนวณเฉพาะ อาคาร A และ อาคาร O โดยโรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณของเสียแบบเดิม ตามวิธี Absolute approach หมายถึง ปริมาณของเสียที่ต้องลดในรูปแบบร้อยละของปริมาณของเสียทั้งหมด พบว่าในปี 2565 ปริมาณของเสียทั้งหมด 310,156 ตัน คิดเป็นของเสียลดลงร้อยละ 8.60 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563 ตามวิธี Absolute approach ในปี 2565 โรงพยาบาลได้กำหนดเป้าหมายลดปริมาณของเสียต่อวันนอนผู้ป่วยรวมแบบใหม่ ตามวิธี Economic Intensity approach หมายถึง ปริมาณของเสียที่ต้องลดต่อหน่วยการให้บริการ พบว่าปริมาณของเสียต่อวันนอนผู้ป่วยรวมเป็น 2.55 กิโลกรัมต่อวันนอนผู้ป่วยรวม ซึ่งมีปริมาณของเสียลดลงคิดเป็นร้อยละ 34.78 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563 ตามวิธี Economic Intensity approach

บริษัทให้ความสำคัญในการบริหารจัดการของเสีย ผ่านการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ควบคู่กับแนวทางการบริหารจัดการของเสียตามกลยุทธ์ 3Rs ประกอบด้วย การลดปริมาณของเสียโดยการลดการใช้ (Reduce) นอกจากนี้ยังได้ทำการคัดแยกของเสียตั้งแต่ต้นทางในการนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ก่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการนําของเสียไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยกำหนดแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการของเสีย นำไปสู่การลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างยั่งยืน

โครงการบริจาคปฏิทินตั้งโต๊ะเก่า ในการนำไปจัดทำเป็นเอกสารอักษรเบลล์

ในปี 2564 - 2565 ทางโรงพยาบาลได้รวบรวมปฏิทินตั้งโต๊ะเก่า จากผู้บริหาร แพทย์ และพนักงาน รวมถึงครอบครัวเพื่อนำมาบริจาคแก่โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในการนำไปจัดทำเป็นเอกสารอักษรเบลล์เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้แก่นักเรียนผู้พิการทางสายตา เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการดำเนินการด้านจิตสาธารณะในการทำประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม อีกทั้งยังช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อนำมาผลิตเป็นกระดาษอักษรเบลล์ และเป็นการลดปริมาณขยะ สามารถนำกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของโรงพยาบาลในนามผู้บริจาค

แนวทางพัฒนาและจัดการของเสีย

1
เพิ่มมูลค่าของเสียจากการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
2
ยกระดับการจัดการจัดการของเสียเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)
3
ส่งเสริมการบริหารจัดการของเสียแนวคิด 3Rs โดยการลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)