ชื่อย่อ : PR9
ราคาล่าสุด 19.20
เปลี่ยนแปลง (%) - (-%)

การระบุและประเมินประเด็นสาระสำคัญ

บริษัทดำเนินการระบุประเด็นความเสี่ยงและโอกาสจากความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรมขององค์กรภายในห่วงโซ่คุณค่า ทิศทางของอุตสาหกรรม ทิศทางด้านความยั่งยืน ความเสี่ยงใหม่ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และนำมาจัดลำดับความสำคัญผ่านกระบวนการพัฒนาแนวทางการจัดการความยั่งยืน ประกอบด้วย การระบุประเด็นและขอบเขตผลกระทบ การประเมินและจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญ การทวนสอบประเด็นสาระสำคัญและการสื่อสารและการรายงานประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้

การระบุประเด็นและขอบเขตผลกระทบ

บริษัทระบุประเด็นสำคัญที่อาจส่งทั้งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการสร้างคุณค่าขององค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ โดยพิจารณาจากบริบทภายในองค์กรและบริบทภายนอกองค์กรด้านต่าง ๆ อาทิ เช่น ทิศทางของอุตสาหกรรม พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงพิจารณาความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของธุรกิจครอบคลุมในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตลอดในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพิจารณาขอบเขตผลกระทบของประเด็นความสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ดังนี้

การประเมินและจัดลำดับประเด็นสาระสำคัญ

บริษัทพิจารณาลำดับประเด็นสาระสำคัญจากการประเมินความสำคัญของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อบริบทขององค์กรและผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมขอบเขตความท้าทายของผลกระทบ โอกาส กลยุทธ์ เป้าหมายการดำเนินการด้านความยั่งยืน และนำประเด็นทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญตามเกณฑ์โอกาสและความเสี่ยงโดยประเมินจากผลกระทบและความเป็นไปได้ที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจของบริษัท และปัญหาซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ บริษัทได้จัดกลุ่มระดับความสำคัญของปัญหาแต่ละประเด็นในระดับต่ำ ปานกลาง และสูง ในรูปแบบ Materiality Matrix โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์และแผนงานด้านความยั่งยืนอย่างเหมาะสม ในรอบปีที่ผ่านมามีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงประเด็นด้านความยั่งยืนประเด็นหลักสำคัญยังคงสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์องค์กร คือ การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) จากการมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม นอกจากนี้ประเด็นความยั่งยืนด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการประเมินความสำคัญเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการสร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ได้รับการประเมินความสำคัญเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความสำคัญกับกระบวนการให้บริการขององค์กร ดังนี้

การทวนสอบประเด็นสาระสำคัญ

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ทบทวนข้อมูลจากตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงกฎหมาย ข้อกำหนดลูกค้า การสร้างการมีส่วนและบริบทด้านความยั่งยืนด้านตามมิติเศรษฐกิจ สังคม สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในประเด็นความเสี่ยง และโอกาสที่อาจส่งผลต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อทวนสอบ (Validation) ประเด็นสาระสำคัญ ซึ่งพิจารณาความถูกต้อง ความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและบริบททางธุรกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

การสื่อสารและการรายงาน

บริษัทนำประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท มาบริหารจัดการผ่านแผนงานกลยุทธ์องค์กร การกำหนดเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากรครอบคลุมแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว และดำเนินการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ เช่น รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) หรือเว็บไซต์ของโรงพยาบาลพระรามเก้าอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถให้ข้อมูลความคาดหวัง ข้อกังวล รวมถึงข้อคิดเห็นจากรายงานประจำปีผ่านช่องทางที่กำหนดในแต่ละกลุ่มเพื่อพัฒนาประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนและดำเนินการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละประเด็นอย่างเหมาะสม