ชื่อย่อ : PR9
ราคาล่าสุด 19.50
เปลี่ยนแปลง (%) - (-%)
1

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

บริษัทมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสังคมได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายตามมิติสังคม สร้างสุขภาวะที่ยั่งยืน ถือเป็นภาระกิจหลักขององค์กรในการดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเด็นมิติสังคม อาทิ เช่น การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ และการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม โดยบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยปกติ นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างยั่งยืน

บริษัทให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงานต่อการพัฒนาความรู้และทักษะการทำงาน สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ดูแลสุขภาพพนักงาน จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และสร้างความผูกพันต่อพนักงานสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เป้าหมายที่ 3, 4, 5, 8 และ 9 นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมุ่งเน้นการบริการที่มีความเป็นเลิศด้านบริการในการพัฒนาศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง การบริการสุขภาพดิจิทัล การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในสังคม การพัฒนานวัตกรรมการบริการสุขภาพ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์สุขภาพในการยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวและมีความมั่นคงในชีวิต นำไปสู่การให้บริการระบบสุขภาพแบบบูรณาการในการสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนอย่างความสมดุลทั้ง 4 มิติ ประกอบด้วย สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาพปัญญา และสุขภาพสังคม ดังนี้

เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนมิติสังคม

นโยบายสิทธิมนุษย์ชน
ดาวน์โหลด
2

การบริหารจัดการด้านสังคม

บริษัทขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติงานให้ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางธุรกิจให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยมุ่งเน้นการรักษาโรคซับซ้อน อาทิ เช่น เบาหวาน หัวใจ ไต เป็นต้น และสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับลูกค้าในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว จากการพัฒนาการรักษาแบบ Telemedicine โดยใช้ AR และ VR การประยุกต์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรค และการติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมอย่างยั่งยืน ดังนี้

1
การส่งเสริมการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความ เสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างเรื่อง เชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางจิตใจ ความพิการหรือทุพพลภาพ สถานภาพทางสังคม แนวคิดทางการเมือง ตลอดจนสถานภาพเกี่ยวกับการสมรส เป็นต้น
2
การให้การคุ้มครอง จากการเปิดโอกาสให้พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถแสดงความคิดเห็น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องในบริษัท โดยมีกระบวนการและช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนทั้งออนไลน์ออฟไลน์ ที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ ช่องทางโทรศัพท์ Contact Center ติดต่อ 1270 กล่องรับเรื่องร้องเรียน/รับความคิดเห็น ตลอดจนนำส่งข้อมูลแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ และมีมาตรการในการคุ้มครองบุคคลที่รายงานหรือเสนอข้อคิดเห็นอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และ
3
การเยียวยา เมื่อการดำเนินงานของบริษัท ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยจัดให้มีกระบวนการเยียวยา เริ่มตั้งแต่การช่วยเหลือเบื้องต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง และหาวิธีการประยุกต์ใช้ในการพัฒนา แก้ไข รวมทั้งนำมารายงานคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาการช่วยเหลือและให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนย่างเหมาะสม โดยมีผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน ดังนี้

โครงการพัฒนาการสร้างงานที่มีคุณค่าและความเท่าเทียมทางเพศ

บริษัทร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรี โดยในปี 2565 สัดส่วนพนักงานเพศหญิง ต่อพนักงานทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 71.91

ร่วมสร้างงานที่มีคุณค่าและความเท่าเทียมทางเพศต่อการเสริมพลังทางสังคมให้แก่สตรีในการสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนทางปัญญา ทางกายและทางใจ โดยในปี 2565 สัดส่วนแพทย์เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 47.85 สัดส่วนพยาบาลแพทย์หญิงคิดเป็นร้อยละ 96.54 สัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 83.15 บุคคลากรฝ่ายอื่นๆคิดเป็นร้อยละ 67.97

ผลการดำเนินงานด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน

การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน

1
ทบทวนแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงคุณค่าธุรกิจ
2
จัดประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
3
จัดอบรมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนให้ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงคุณค่าธุรกิจ
รายงานผลการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน
ดาวน์โหลด

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และการดูแลพนักงานให้เกิดความผูกพันกับองค์กรถือเป็นอีกความท้าทายหนึ่งขององค์กร โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความปลอดภัย ควบคู่กับการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ ติดตามประสิทธิผลจากตัวชี้วัดอัตราความพึงพอใจของพนักงาน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารพร้อมทั้งใช้ระบบวิเคราะห์เกี่ยวกับพนักงานในด้านต่างๆ ในการวางแผนด้านความรับผิดชอบต่อบุคลากร วิเคราะห์ทักษะที่ยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมและสนับสนุนกระบวนการสรรหาและจ้างพนักงานที่เป็นธรรม นำไปสู่การพัฒนาความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

ในปี 2565 รอบปีที่ผ่านมา บริษัทส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทุกระดับให้มีบทบาทสำคัญต่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆที่ดีต่อลูกค้าและสร้างคุณค่าใหม่ ผ่านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความรู้สมัยใหม่ในการพัฒนากระบวนการให้บริการที่มีความปลอดภัย รวดเร็วและสะดวก รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานให้เป็นไปตามวัฒนธรรมองค์ โดยจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรต่างๆ ที่เหมาะสมด้วยการยกระดับ Reskill และ Upskill ทั้งในด้าน Soft Skill และ Hard Skill เพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ รูปแบบธุรกิจ หรือพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการสร้างภาวะความเป็นผู้นำ และวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ชัดเจน (Career Path) นำไปสู่การมีเป้าหมายการจัดการด้านความรับผิดชอบต่อบุคลากร ประกอบด้วย ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อคนต่อปี (ปรับเป้าหมายจากเดิม ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อคนต่อปี) ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามเป้าหมาย อัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเจ็บป่วยจากการทำงานเป็นศูนย์ สร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ตามเป้าหมายความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร ประกอบด้วย อัตราความผูกพันของพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และอัตราการลาออกน้อยกว่าร้อยละ 10 โดยมีผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร ดังนี้

โครงการอบรมเฉพาะทาง

พัฒนาสถานที่ทำงานปลอดภัย

  • คัดกรองผู้ป่วยตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
  • ติดเครื่องหมาย COVID SAFE เมื่อผ่านจุดคัดกรอง
  • แยกผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ไปที่ศูนย์ระบบทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ซึ่งอยู่นอกอาคารโรงพยาบาล
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกคน เมื่อเข้าเขตพื้นที่โรงพยาบาล
  • จัดที่นั่งผู้รับการรักษาระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1-2 เมตร
  • มีเจลแอลกอฮอล์ให้บริการทั่วทุกจุดในโรงพยาบาล
  • ตรวจสอบแสง เสียง ความร้อน สารเคมี และรังสีในสถานที่ทำงาน
  • จัดสถานเว้นระยะห่างในห้องอาหารให้กับพนักงาน

ส่งเสริมบุคลากรปลอดภัย

  • แยกเจ้าหน้าที่ดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยทั่วไปออกจากกัน
  • เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องสวมใส่หน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัย
  • ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมการแพร่เชื้อครบถ้วน โดยการใส่ชุด PPE, Face Shield และถุงมือยาง

จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ปลอดภัย

  • จัดหาเครื่องมือสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ และสอนการทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกชิ้น ทั้งก่อนละหลังการใช้งานตามมาตรฐานทางการแพทย์
  • จัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะความชำนาญในการยกพยุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อความการบริการอย่างมืออาชีพ

สร้างความผูกพันของพนักงาน

พนักงานเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าสูงสุดและเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจ บริษัท จึงมุ่งมั่นพัฒนาและส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กร Safety contour ให้เกิดความรัก ความสามัคคีขึ้นภายในบริษัท รวมทั้งยึดมั่นในหลักการปฏิบัติต่อพนักงานบนพื้นฐานของความเป็นธรรม ทั้งในด้านโอกาส ความก้าวหน้าในการทำงาน ค่าตอบแทน สวัสดิการ การพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ สิทธิส่วนบุคคล รวมถึงปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานภและสุขอนามัยของพนักงาน

สร้างแรงจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ

พนักงานถือเป็นรากฐานและหัวใจสำคัญของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการเจริญเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน บริษัทให้ความสำคัญในทุกเสียงสะท้อนของพนักงานที่ได้รับจากทุกช่องทางทั้งแบบสำรวจ การพบปะพูดคุย หรือจากการส่งข้อความผ่านสื่อต่างๆ ทำให้บริษัท เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของพนักงานซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ และสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังหรือความต้องการของพนักงานได้ตรงประเด็น นำไปสู่การสร้างความพึงพอใจของพนักงาน ส่งผลให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อและกระตุ้นต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและสร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร โดยในปี 2565 บริษัท สร้างความผูกพันของพนักงาน สร้างแรงจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ผ่านกิจกรรม ดังนี้

ผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร

ความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร

ในปี 2565 บริษัทส่งเสริมการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะของบุคลากร โดยมีการชั่วโมงการฝึกอบรมในการพัฒนารวม 66,852 ชั่วโมง คิดเป็นชั่วโมงอบรมเฉลี่ย 48.37 ชั่วโมงต่อคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 366 ในส่วนของการส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่ามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 0.21 ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 70 และอัตราการเจ็บป่วยจากการทำงานเป็นศูนย์ และจากการมุ่งมั่นสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความผูกพัน สร้างแรงจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ส่งผลให้ในปี 2565 ผลการประเมินความผูกพันของพนักงาน มีอัตราความผูกพันของพนักงาน ร้อยละ 80.90 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 5 มีอัตราการลาออกของพนักงาน ร้อยละ 12.75 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 15 และมีอัตราการลาออกจากงานโดยสมัครใจของพนักงาน High Performance ร้อยละ 4.75 ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 1.1

การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อทรัพยากรบุคลากร

1
สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน Digital Workplace
2
พัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการดูแลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล
3
นำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับแพทย์และพยาบาล
4
พัฒนาทัพยากรให้มีศักยภาพในการแข่งขันและตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวเร็ว
ข้อมูลสถิติการลางาน
ดาวน์โหลด

ในปี 2565 บริษัทมีเป้าหมายการจัดการด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ ประกอบด้วย จำนวนผู้ใช้บริการ Virtual hospital เติบโต 10 เท่า ภายในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2563 และอัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ที่มีความคล่องตัว รวดเร็ว อันเป็นรากฐานที่จะช่วยให้องค์กรพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคต และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันใหม่ด้านเทคโนโลยี ดังนี้

การพัฒนาระบบ Virtual Hospital โดยศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ โรงพยาบาลพระรามเก้า (Praram9V)

การพัฒนาระบบ Virtual Hospital ของโรงพยาบาล โดยศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ โรงพยาบาลพระรามเก้า (Praram9V) ด้วยแนวคิด “Patient centric care” คือให้การดูแลแบบมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามนโยบาย Digital Hospital ของโรงพยาบาล และด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้การเข้าถึงบริการทางการแพทย์สะดวก ง่าย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการยุคปัจจุบันที่ต้องการลดการเดินทางมาโรงพยาบาล ลดความแออัด จึงใช้แนวคิด “Decentralized healthcare service” กระจายการให้บริการไปยังที่ ผู้รับบริการสะดวก เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยมีบริการ Telemedicine และ Smart healthcare services

โครงการ Telemedicine ของศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบ Real-time แพทย์สามารถสังเกตอาการเจ็บป่วยได้ทันที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยแพทย์สามารถรับคำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุที่เดินทางมาโรงพยาบาลลำบาก ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด อีกทั้งยังมีการให้บริการ clinic telemedicine เป็นพิเศษตามสถานการณ์ เช่น คลินิกให้คำปรึกษาเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และคลินิกให้การรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการระบบ telemedicine ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โครงการ Smart healthcare services ระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่มีความเสี่ยงของการเกิดโรค หรือใส่ใจในการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดยศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ทันสมัยให้สามารถทำงานเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ให้การวินิจฉัยและติดตามอาการของโรคอย่างทันสมัยที่บ้านได้ พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอย่างทันท่วงทีและทำให้การรักษาได้อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน (CGMS) ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างครบวงจรโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล และนักโภชนาการ จึงสามารถควบคุมอาการของโรคได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้การให้บริการ Virtual Hospital ของศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ได้ดำเนินการขยายจุดให้บริการไปยังนอกโรงพยาบาล เช่น การให้บริการ telemedicine ในร้านขายยา หรือ outreach ของโรงพยาบาลพระราม 9 ซึ่งอยู่ในห้องพยาบาลของบริษัทและโรงเรียนเอกชน ชั้นนำ ทำให้สามารถขยายฐานการให้บริการไปยังผู้ใช้บริการรายใหม่ให้กับโรงพยาบาลได้

ผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ

ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ

ผลการพัฒนาระบบการให้บริการในการตรวจ วินิจฉัย รักษาและดูแลสุขภาพ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ตามเป้าหมายในการก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัล (Virtual Hospital) ส่งผลให้ในปี 2565 จำนวนผู้ใช้บริการ Virtual hospital เติบโตขึ้น 2.37 เท่าจากปี 2564 และอัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 98.14 ซึ่งลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 0.43

การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ

1
รักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบดิจิทัลทางการแพทย์ (security) ตามมาตรฐานของ ETDA
2
พัฒนาการเก็บข้อมูลขององค์กรบน Cloud

ในปี 2565 รอบปีที่ผ่านมา บริษัท ได้ทบทวนเป้าหมายด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยมีเป้าหมายการจัดการด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยการดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ภายในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2563 ผ่านการทำกิจกรรมการให้ความรู้คนในชุมชนและสังคม นำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและการจ้างงานที่ยั่งยืน อันเป็นรากฐานที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนและสังคม ดังนี้

โครงการสัมมนา Online เรื่อง ปัญหา...โรคความดันโลหิตสูง

จัดสัมมนาให้ความรู้เรื่อง เรื่อง ปัญหา...โรคความดันโลหิตสูง ให้กับบริษัทริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมสัมมนา 51 คน และมีการส่งคลิปไปให้ฝ่ายบุคคลแชร์ให้พนักงานรับชมย้อนหลัง

โครงการ Praram9 Healthy Kids

จัดกิจกรรมบรรยาย: "เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับลูกน้อย...คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?" โดย พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินหายใจในเด็ก โรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความสุขภาพ Knowledge Sharing

บทความสุขภาพเชิงป้องกัน

บทความสุขภาพเชิงรักษา

รายงานประเมินผลกระทบทางสังคม
ดาวน์โหลด
ผลตอบแทนทางสังคม
ดาวน์โหลด

ผลการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน

การมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม

ผลการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมให้มี ความมั่นคงทางสุขภาพ ในปี 2565 ทั้งหมด 20 กิจกรรม ส่งผลให้ การทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2564 ถึงร้อยละ 17.65

การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม

1
สร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านการให้ความรู้ด้านสุขภาพให้ลูกค้าและผู้ดูแลลูกค้า
2
พัฒนาระบบสุขภาพในชุมชนผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมการรักษาดุลยภาพสุขภาพที่เชื่อมโยงกันระหว่างสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพปัญญาและสังคม